วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกกีฬาโดย น.ส.พัชรี เสือพงษ์ใหญ่

















ประวัติยิมนาสติก


ยิมนาสติก (Gymnastics) เป็นกีฬาสากลประเภทหนึ่งที่จัดเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ยิมนาสติกมาจากภาษากรีกว่า Gymnos แปลว่า Nudeตามความหมายแปลว่า Necket Art แปลเป็นไทยว่า "ศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า" ซึ่งหมายถึงวิธีการทำให้ร่างกายสวยงามมีทรวดทรงดีด้วยวิธีเปลือยกายเล่นกีฬา และมีการประกวดทรวดทรง พร้อมกับมีการแข่งขันกีฬากลางแจ้งต่อหน้าประชาชน
ผู้ที่มีร่างกายสง่างาม มีความสามารถทางการกีฬาก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะเลิศ ได้รับการต้อนรับจากประชาชน โดยช่างแกะสลักรูปหินอ่อนตั้งไว้บริเวณรั้วสนามกีฬา
การทำให้ร่างกายงามสง่านี้ ชาวกรีกเป็นผู้เริ่มและนิยมกันมากในสมัยโบราณ นักกีฬาจะบริหารกายด้วยวิธีต่างๆ ทั้งมือเปล่า และใช้เครื่องมือประกอบ สถานที่ซึ่งใช้ฝึกหัดโดยเฉพาะนี้เรียกว่า โรงฝึกพลศึกษา กิจกรรมใดที่นำมาบริหารร่างกายทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และสง่างาม ก็เรียกกิจกรรมนั้นว่าการเล่นยิมนาสติก เช่น การวิ่ง การเล่น ผาดโผน ยกน้ำหนักไต่เชือก กายบริหาร และศิลปะการต่อสู้หลายประเภท ตลอดจนการกีฬาอื่นๆ แต่ระยะต่อมาความหมายของคำว่ายิมนาสติกได้เปลี่ยนไป
เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นจนมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง จึงถูกตั้งชื่อใหม่และแยกตัวออกจากคำเดิมอย่างเด็ดขาด คงเหลือไว้เฉพาะบางประเภท เช่น การฝึกหัดท่าผาดโผนบนเบาะ และบนเครื่องมือซึ่งติดตั้งอยู่กับที่ภายในห้องยิมฯ(Apparatus) ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมชั้นสูงที่ส่งเสริมความแคล่วคล่องว่องไว และทดสอบความสามารถของตนเอง เช่น บริหารกาย(Calisthenics) ยืดหยุ่น (Tumbling) การทรงตัว (Balance) ม้าหูและม้าหมุน (Side-horse, Long horse) ราวทรงตัว (Balance beam) ไต่เชือก (Rope activities) ต่อตัว (Pyramid) ราวเดี่ยว (High bar) ราวคู่ (Parallelbars) และห่วง เป็นต้น
กีฬาประเภทนี้เริ่มต้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัด แต่มาปรากฏก่อนคริสต์ศักราช 2,600 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวจีนได้มีการฝึกฝนท่ากายบริหารและคิดประดิษฐ์ท่าบริหารกายขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบำบัดทางแพทย์แบบจีนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ชาวจีนได้มีการคิดท่ากายบริหารขึ้นมาเพื่อบริหารร่างกายให้เกิดความแข็งแรง และถือว่าเป็นการป้องกันและรักษาโรคได้ด้วยเรียกว่า ยิมนาสติกเพื่อการบริหารร่างกายและการฟื้นฟู นอกจากนั้นชาวจีนยังมีการละเล่นกายกรรมในลักษณะของการต่อตัว ไต่เชือก และการตีลังกาต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนยิมนาสติกอย่างหนึ่งในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม เราเชื่อกันว่าการเริ่มต้นของกีฬายิมนาสติกอย่างแท้จริงนั้นคือ สมัยเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แห่งชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะกรีกโบราณเป็นประเทศแรกที่สนใจและมีบทบาทอันสำคัญต่อกีฬายิมนาสติก แม้กระทั่งคำว่ายิมนาสติกก็เป็นภาษากรีก แบบหรือระบบของท่าบริหารร่างกายท่าต่างๆ ที่ใช้กันในสมัยโรมันก็คิดและประดิษฐ์ขึ้นโดยนักศึกษาสมัยโบราณของกรีก และพลเมืองทั่วทั้งประเทศได้ยึดถือเป็นแบบฉบับหรือระบบของท่าบริหารกายมาตรฐาน โดยฝึกสอนให้แก่เยาวชนตามสถาบันทุกแห่งยิมนาสติกในประเทศกรีกเริ่มต้นและพัฒนาไปพร้อมๆ กับวิทยาการด้านศิลปะและดนตรี ชาวสปาร์ต้ามีความศรัทธาเรื่องยิมนาสติกมากที่สุดโดยรัฐได้ตั้งขอ้กำหนดให้มีการฝึกหัดยิมนาสติกแก่เยาวชนของชาติทุกคนตลอดจนเด็กหญิง กิจกรรมประกอบด้วย ยืดหยุ่นเต้นรำ วิ่ง กระโดด ไต่เชือก และการเคลื่อนไหวทรงตัว
เมื่อจักรวรรดิโรมันมีอิทธิพลเหนือดินแดนกรีก โรมันก็ได้ลอกแบบกิจกรรมทางพลศึกษาทั้งหมดไปจากกรีก แต่ดัดแปลงนำไปใช้เพื่อฝึกทหารของตน แต่ทันทีที่จักรวรรดิกรีกและโรมันเสื่อมลง ทั้งด้านวัฒนธรรมและกีฬายิมนาสติกก็เสื่อมโทรมลงไปด้วย ตลอดจนกิจกรรมทางการออกกำลังกายประเภทต่างๆ รวมทั้งการประกวดก็ถูกทิ้งไปจนหมด นับเป็นระยะที่การพลศึกษาได้เข้าสู่ยุคมืดมน (Dark age) ตลอดจนถึงยุคกลาง(Middle age) ระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ครั้นเข้าสู่ยุคฟื้นฟู (Renaissance) กิจกรรมทางพลศึกษาก็ค่อยๆ ตื่นตัว และได้ขยายออกไปสู่ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป
ในปี พ.ศ. 2266-2333 Johann Basedow แห่งเยอรมันนี นักการศึกษาที่สำคัญได้บรรจุการออกกำลังกายแบบยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2319
ในปี พ.ศ. 2302-2382 นักการศึกษาอีกผู้หนึ่งคือ นาย Johann Guts Muths ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "คุณปู่แห่งกีฬายิมนาสติก" ได้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนปรัชเซีย และท่านผู้นี้ยังได้เขียนตำราที่มีคุณค่าต่อการศึกษาาไว้หลายเล่ม รวมทั้งตำรายิมนาสติกสำหรับเยาวชนด้วย นับว่าเป็นตำรายิมนาสติกเล่มแรกของโลก
ปี พ.ศ. 2321-2395 นักการพลศึกษาอีกท่านหนึ่ง คือ Friedrich Jahn เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์ฝึกเทิร์นเวอร์เรียน (Turnverein) อันมีแนวโน้มไปในทางการแสดงออกถึงความรักชาติ โครงการนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล ดังนั้นจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว ศูนย์ฝึกดังกล่าวประกอบด้วยบริเวณลานฝึกอันกว้างใหญ่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะเข้าร่วมได้ทั้งครอบครัว และได้คิดประดิษฐ์เครื่องอุปกรณ์การฝึกหลายอย่าง ในจำนวนนี้มีเครื่องอุปกรณ์ยิมนาสติกอยู่ด้วยคือ ราวเดี่ยว ราวคู่ ไชค์ฮอสลองฮอสชนิดสั้น (Buck) ต่อมาสงครามปลดแอกได้เสร็จสิ้นลง มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศ และนโยบายการบริหารประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมของนาย Friedrich Jahn ถูกเข้าใจผิด จึงถูกจับเข้าคุกในข้อหามีแผนการณ์คิดจะล้มล้างรัฐบาล ดังนั้น สมาคมเทิร์นเรอร์เรียนซึ่งยังมีคนนิยมอยู่ก็ต้องดำเนินไปอย่างซ่อนเร้นและกระจัดกระจายออกไปสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป และห้ามไปสู่สหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา
ปี พ.ศ. 2353-2401 นักศึกษาที่มีความสำคัญต่อวงการพลศึกษาอีกท่านหนึ่งคือ Adole Spiess ชาวสวิสเป็นผู้เสนอให้บรรจุวิชายิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
นักการศึกษาทางด้านพลศึกษาอีกท่านหนึ่งคือ Pehr Ling ชาวสวีเดนผู้มีความเชื่อว่ายิมนาสติกมีคุณค่าทางการบำบัดและแก้ไขความบกพร่องของร่างกายได้เขาได้คิดค้นท่าบริหารร่างกายประเภทบุคคลขึ้น และยังเป็นผู้คิดประดิษฐ์อุปกรณ์การออกกำลังกาย อันเป็นที่รู้จักกันในนามอุปกรณ์แบบสวีดีช (Swedish Apparatus) รวมทั้วราวติดผนังและหีบกระโดดด้วย
นักการศึกษาที่มีความสำคัญต่อวงการพลศึกษาอีกท่านหนึ่งคือ Franz Nachtegall ได้ริเริ่มการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูยิมนาสติกเป็นแห่งแรก ณ เมืองโคเปนเฮเกน
วิวัฒนาการของวงการยิมนาสติกในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นพร้อมๆ กับการพลศึกษาของชาวยุโรปในระยะแรก ชาวยุโรปซึ่งเคยได้สังกัดอยู่ในสมาคมเทิร์นเวอร์เรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ นำเอาสมาคมดังกล่าวเข้าไปตั้งในสหรัฐอเมริกา โดยได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ใหม่ ครั้นต่อมาสมาคมมีสโมสรเพิ่มขึ้นก็มีความต้องการครูผู้สอนเพิ่มขึ้นดังนั้นในปี พ.ศ. 2408 จึงได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยยิมนาสติกขึ้นเป็นแห่งแรกที่เมืองอินเดียนาโปลิส รัฐอินเดียนา ชื่อ Normal College of American Gymnastics ในระยะเวลาสองสามปีต่อมา สถาบันการศึกษาแห่งนี้ก็สามารถผลิตครูยิมนาสติกผู้มีความสามารถและมีกิจกรรมอื่นๆ อย่างมากมาย
ชาวอเมริกันคนแรกที่มีความสำคัญต่อวงการยิมนาสติกคือ Dr. Dudlay Sargent ขณะที่เขายังเป็นนักเรียนอยู่นั้นได้เปน็ครูสอนยิมนาสติกที่วิทยาลัยโบวดอย (Bow Doin College) ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี เขาได้บรรจุกิจกรรมประเภทนี้เข้าไว้ในหลักสูตรของระดับวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ต่อมาได้ไปอยู่ ณ มหาวิทยาลัยเยลและย้ายจากมหาวิทยาลัยเยลไปอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในตำแหน่งผู้อำนวยการเฮเมนเวย์ ยิมเนเซียม ซึ่ง Dr. Sargentได้คิดอุปกรณ์ยิมนาสติกขึ้นหลายอย่าง รวมทั้งรอกน้ำหนัก (Pulley weights) และเครื่องมือบริหารขาและนิ้วมือ และยังเป็นผู้พัฒนาระบบทดสอบความสามารถของมนุษย์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพทางร่างการยของเด็กนักเรียนด้วย
สมาคม Y.M.C.A. ในสหรัฐอเมริกา ก็นับว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อวงการยิมนาสติกเช่นกัน กล่าวคือ ทางสถาบันได้จัดกิจกรรมเข้าไว้รวมกับโปรแกรมทางพลศึกษาประเภทอื่นๆ ด้วย สมาคมทุกแห่งได้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ยิมนาสติกไว้ในโรงยิมเนเซียมเพื่อบริการแก่สมาชิก และมีครูผู้สอนด้านนี้โดยตรงโรงเรียนฝึกหัดครูยิมนาสติกของ Y.M.C.A. แห่งแรกคือที่สปริงฟิลด์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์บุคลากรผู้ริเริ่มให้การพลศึกษาเคลื่อนไหวไปได้อย่างขนานใหญ่ควบคู่ไปกับแนวการศึกษาก็คือ Dr. Luther Gulick
ครั้นต่อมาในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดมีกิจกรรมทางการกีฬาใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายชนิด ดังนั้น กิจกรรมทางยิมนาสติกจึงได้รับความสนใจ และมีการปรับปรุงเพื่อให้ทันสมัย ทำให้ยิมนาสติกได้กลายเป็นกีฬาที่มีกฎกติกาอย่างสมบูรณ์และมีการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน และสโมสรโดยทั่วไป
ปี พ.ศ. 2439 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก ยิมนาสติกได้มีการแข่งขันในโอลิมปิกครั้งนี้ด้วย และมีกิจกรรมแข่งขัน เช่นวิ่งเร็ว กระโดดสูง กระโดดไกล กระโดดค้ำถ่อ พุ่งแหลน ทุ่มน้ำหนัก ว่ายน้ำ ราวคู่ ราวเดี่ยว คานทรงตัว และ Free exercise
ปี พ.ศ. 2446 ได้มีการจัดตั้งสหพันธ์ยิมนาสติกสากลขึ้น (Federation International De Gymnastic) มีชื่อย่อว่า F.I.G. โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้จัดให้มีการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกขึ้นโดยกำหนดจัดการแข่งขัน 2 ปีต่อครั้ง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 หลังจากการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 ก็ได้เปลี่ยนการแข่งขันให้เป็น 4 ปีต่อครั้งเหมือนกับกีฬาโอลิมปิก โดยจะจัดก่อนโอลิมปิก 1 ปี
ในระยะแรกของการแข่งขันยิมนาสติก จะเป็นการแข่งขันเฉพาะประเภท ชาย ต่อมาปี พ.ศ. 2471 จึงจัดให้มีการแข่งขันประเภทหญิงด้วย (ตรงกับโอลิมปิกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2471)
ในช่วงระยะที่กล่าวมาแล้ว กิจกรรมของยิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันส่วนหนึ่งก็คล้ายกับยิมนาสติกปัจจุบันอีกส่วนหนึ่งก็เป็นกรีฑาในปัจจุบัน บางครั้งก็มีว่ายน้ำด้วย ทางสหพันธ์ยิมนาสติกสากลจึงคิดว่าควรจะแยกการแข่งขันยิมนาสติกออกจากกรีฑา
ในปี พ.ศ. 2477 เริ่มบรรจุม้ากระโดด (Vaulting horse) และบาร์ต่างระดับ (Uneven bars) เข้าไว้ในการแข่งขันกีฬายิมนาสติกด้วย
ยิมนาสติกสากล
ในปี พ.ศ. 2495 ได้กำหนดให้ประเภทชายมี 6 อุปกรณ์ และหญิงมี 4 อุปกรณ์
อุปกรณ์ในประเภทชาย1. ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)2. ม้าหู หรือม้าหมุน (Pommel horse)3. ห่วง (Rings)4. ม้ากระโดด (Long horse)5.บาร์คู่ (Parallel bars)6. บาร์เดี่ยว (Horizontal bar)
อุปกรณ์ในประเภทหญิง1. ม้ากระโดด (Vaulting horse)2. บาร์ต่างระดับ (Uneven bers)3. คานทรงตัว (Balance bars)4. ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)
ยิมนาสติกชนิดนี้เรียกว่า ยิมนาสติกสากล
ปัจจุบันกีฬายิมนาสติกในสหรัฐอเมริกามีผู้นิยมโดยกว้างขวาง นอกจากจัดตั้งกันในรูปสมาคม และสโมสรสำหรับประชาชนแล้ว ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ก็มีการฝึกฝนและจัดการแข่งขันทุกปีทั้งประเภทหญิงและประเภทชายตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมต้น มัธยมปลาย จนถึงระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย การแข่งขันยิมมนาสติกระดับชาติต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาค่อยๆ มีหลักเกณฑ์และมีมาตรฐานตามหลักสากลนิยมขึ้นทุกขณะ ทั้งนี้เพราะผลอันสืบเนื่องมาจากการมีกติกายิมนาสติกสากลเป็นที่หวังได้ว่าหากมีนิเทศการสอนและครูผู้ฝึกสอนที่พอเพียงแล้ว ยิมนาสติกของสหรัฐอเมริการก็จะกลายเป็นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวในวงการธุรกิจอย่างกว้างขวางได้ในอนาคต
ยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี
ยิมนาสติกได้มีการพัฒนาปรับปรุงทั้งทางด้านกติกาเทคนิค และวิธีการต่างๆ จนทำให้ยิมนาสติกเจริญมาจนถึงทุกวันนี้ และในปี พ.ศ. 2513 ยิมนาสติกที่มีต้นกำเนิดมาจากทางแถบยุโรปตอนเหนือได้รับความนิยมมากขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นยิมนาสติกแขนงใหม่เรียกว่า ยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี (Rhythmic Sportive Gymnastic)
ยิมนาสติกประเภทนี้ จะมีเฉพาะประเภทหญิงเท่านั้น เป็นการแสดงบนฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์โดยจะเป็นการเคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรี และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
1. บอล (Ball)
2. ริบบิ้น (Ribbin)
3. คทา หรือคลับ (Club)
4. ห่วง (Hoop)
5. เชือก (Robe)
ยิมนาสติกทั้งสองประเภทคือ ยิมนาสติกสากล และยิมนาสติกลีลา ประกอบดนตรีจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ยิมนาสติกสากล
ยิมนาสติกายกรรม หรือยิมนาสติกผาดโผน
ยิมนาสติกกายกรรมถือกำเนิดมาพร้อมๆ กับยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี ยิมนาสติกชนิดนี้มิได้ขึ้นกับสหพันธ์ยิมนาสติกสากล ลักษณะของการเล่นหรือการแข่งขันมีทั้งประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภททีม เป็นลักษณะของการต่อตัว ผสมกับการแสดงท่ายืดหยุ่นหรือการตีลังกาทั้งบนฟลอร์ และกลางอากาศขณะต่อตัวในการแสดงประเภทคู่และทีมจะมีเสียงดนตรีประกอบ โดยผู้เล่นจะต้องแสดงให้เข้ากับเสียงดนตรีตามจังหวะอย่างต่อเนื่องและกลมกลืน กำหนดเวลาในการแสดง 2-3 นาที
ในประเภทเดี่ยวผู้แสดงจะต้องแสดงท่ายืดหยุ่นติดต่อกันเป็นชุด ชุดละ 4-5 นาที จำนวน 3-6 ชุด (ท่าสมัคร 3 ชุด ท่าบังคับ 3 ชุด)และจะต้องแสดงให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เช่นเดียวกัน
การจัดการแข่งขันนั้นจะจัดแยกออกต่างหากซึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยังไม่ได้บรรจุเข้าแข่งขันแต่ยิมนาสติกชนิดนี้เป็นที่นิยม และได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นอันมาก
ยิมนาสติกสมัยปัจจุบันนี้นับว่าก้าวหน้าไปมาก ท่าของการออกกำลังกายต่างๆ แต่ละประเภทของอุปกรณ์ นิยมแสดงเป็นชุดชุดละหลายๆ ท่าติดต่อกัน กติกาที่ใช้ในการแข่งขันสากลหรือมาตรฐานโลกเรียกว่า International Federation of Gymnastic ประเทศที่มีผลงานทางยิมนาสติกอันเป็นที่รู้จักทั่วโลก นอกจากประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศในทวีปเอเชียคือ รัสเซีย และญี่ปุ่น การดำเนินงานของกีฬายิมนาสติกของแต่ละประเทศนั้นดำเนินไปในรูปของสมาคมแห่งชาติ สำหรับประเทศในแหลมทอง ก็มีบางประเทศที่มีการดำเนินงานในรูปดังกล่าว เช่น พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น โดยการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 5 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งประเทศพม่าเป็นเจ้าภาพ ยิมนาสติกก็เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่จัดให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรกการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก
ยิมนาสติกประกอบเพลงเริ่มเข้าสู่กีฬาโอลิมปิกในประเภทกลุ่ม จนถึง ปี พ.ศ. 2499 และในการแข่งขันยิมนาสติกโลกแต่ละครั้งจะมีการเล่นบนราวทรงตัว ราวคู่และม้ากระโดดเท่านั้น ผู้เข้าแข่งขันต้องแสดงทุกอุปกรณ์ ในปี พ.ศ. 2499 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้มีการตัดการแข่งขันยิมนาสติกประกอบเพลงออกไป โดยมีข้อยุติว่ายิมนาสติกประกอบเพลงน่าจะเป็นกีฬาที่ทุกคนเล่นได้เองอย่างอิสระอย่างไรก็ตามในประเทศโซเวียต รัสเซีย และกลุ่มประเทศสังคมนิยม ก็ยังเล่นและจัดการแข่งขันจนกระทั่งมีการประกาศจากสมาพันธ์ยิมนาสติกโลก (International Federation of Gymnastics) ในปี พ.ศ. 2505
แต่แล้วในปี พ.ศ. 2506 ก็ได้มีการแข่งขันยิมนาสติกแนวใหม่ประกอบเพลงระดับโลกขึ้น และได้จัดกาาแข่งขันทุกๆ ปี ในปี พ.ศ. 2521ได้มีการแข่งขันชิงแชมป์ระดับยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก และได้นำการแข่งขันเข้าสู่กีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งจะจัดขึ้นในนครลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ยิมนาสติกกายกรรม หรือยิมนาสติกผาดโผน
เป็นยิมนาสติกประเภทยืดหยุ่นและต่อตัว ซึ่งจะมีการต่อตัวแบบต่างๆ ลักษณะคล้ายกับกายกรรม กีฬาประเภทนี้ยังไม่แพร่หลาย และไม่มีการแข่งขันในกีฬาใหญ่ๆ ซึ่งการแข่งขันนั้นจะจัดแยกต่างหาก ในกีฬาโอลิมปิกยังไม่ได้บรรจุเข้าในการแข่งขัน แต่ก็เป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างมากและยิมนาสติกประเภทนี้ก็ได้รับความนิยมพร้อมๆ กับยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี














กีฬายิมนาสติกลีลา : Rhythmic Gymnastics
กีฬายิมนาสติกลีลาประกอบดนตรีได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2443) โดยเริ่มจากการใช้ยิมนาสติกเพื่อการศึกษา ผู้ที่คิดค้นแท้จริงเป็นนักการศึกษาชาวสวิตเซอร์แลนด์ชื่อ Jacques Dalcrole ซึ่งเป็นผู้สร้างวิทยาลัยครูเกี่ยวกับกิจกรรมเข้าจังหวะ 2 แห่งคือ วิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์ และวิทยาลัยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน วิทยาลัยทั้งสองแห่งเป็นแหล่งฝึกฝนยิมนาสติกประกอบจังหวะขึ้นเป็นครั้งแรก
จากนั้นได้มีการคิดค้นเพิ่มเติมในเยอรมันโดย Rodolph Boda ในปี พ.ศ. 2424-2513 ซึ่งศึกษามาจาก Dalcroze Eurythmic College และต่อมา Heinrich Modau ในปี พ.ศ. 2433-2517 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Rodolph Boda ได้จัดตั้งโรงเรียนของตนเองเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเต้นรำและยิมนาสติกที่อาศัยดนตรีประกอบ Modau ได้พัฒนาทักษะยิมนาสติประกอบจังหวะโดยใช้เครื่องดนตรี และเขาได้ริเริ่มการฝึกประกอบลูกบอล ห่วงฮูลาฮุบ และโยนไม้ เขาได้คิดท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นของใหม่ และมีลักษณะตื่นเต้นผสมกับความสวยงามขึ้นมา
ยิมนาสติกประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทยิมนาสติกสากล มีการแข่งขันเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น โดยจะแข่งบนพื้นที่ขนาด 12 x 12 เมตร ใช้เวลาในการแข่งขันคนละ 1-1.30 นาที อุปกรณ์ที่ใช้แข่งขันมี 5 ชนิด โดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากลได้กำหนดไว้ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2527 ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
1. บอล ทำด้วยยางหรือพลาสติก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-20 เซนติเมตรน้ำหนัก 400 กรัม
2. ริบบิ้น ทำจากฟ้าแพร ความกว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-6 เมตร น้ำหนัก 35 กรัม ( 1 เมตร ใช้ริบบิ้น 2 ชิ้นติดกัน) โดยไม้ทำจากพลาสติก ไม้ไผ่ หรือเทอร์เบอร์ใส ยาว 50-60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง (อย่างมาก) 1 เซนติเมตรตรงที่จับอาจพันด้วยกระดาษกันลื่น ส่วนข้อต่อระหว่างริบบิ้นและไม้จะทำด้วยวัสดุที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ อาจทำด้วยเชือก เส้นลวด ไนล่อน ด้าย และขอเบ็ด ซึ่งมีตะขอเกี่ยวกับโซ่อีกส่วนหนึ่ง ความยาว 7 เซนติเมตร
3. ห่วง ทำด้วยไม้ หรือพลาสติก ขอบอาจจะกลมหรือแบนก็ได้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 80-90 เซนติเมตร น้ำหนัก 300 กรัม
4. คลับ หรือ คทา ทำจากไม้หรือพลาสติก น้ำหนัก (อันละ) 150 กรัม ความยาว 40-50 เซนติเมตร
5. เชือก ทำจากป่านหรือพลาสติก วัดตามสัดส่วนของร่างกายผู้เล่น คือ ใช้เท้าทั้งสองเหยียบตรงกลางของเชือก โดยจับปลายเชือกทั้งสองให้อยู่ตรงรักแร้







ยิมนาสติก ดีอย่างไร

เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และสามารถเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

เป็นกีฬาที่ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายได้อย่างเหมาะสม

เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้ระบบต่าง ๆในร่างกาย ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีการเคลื่อนที่ ทั้งในแนวราบ แนวดิ่งและ หลายระนาบพร้อมกัน
มีการพัฒนาความสัมพันธ์ของ ระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท
มีความฉลาดทางสติปัญญา(IQ)และความฉลาดทางอารมณ์(EQ)
กีฬายิมนาสติกจะช่วยให้เด็ก ๆ มีความคิดอย่างเป็นระบบ
มีระเบียบวินัย มีสมาธิดี กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก
สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างชาญฉลาด
นอกจากนี้กีฬายิมนาสติก สามารถพัฒนาสู่ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย ในกิจกรรมยิมนาสติกการแสดง General Gymnastic(GG) และ
เป็นพื้นฐานของกีฬาประเภทอื่น ๆ






แนะนำอุปกรณ์ยิมนาสติกยิมนาสติกในปัจจุบัน
อาร์ติกสติก ยิมนาสติก (Artixtic gymnastics) เป็นประเภทยิมนาสติกสากล ใช้อุปกรณ์การแข่งขันประเภทที่การแข่งขันทั่วโลก F.I.G. ได้กำหนดการแข่งขันออกเป็นประเภทชาย แข่งขัน 6 อุปกรณ์ ประเภทหญิง 4 อุปกรณ์ ดังนี้
ประเภทชาย
1.ฟลอร์เอ็กไซส์ พื้นที่สำหรับแข่งขันจะกระทำบนพื้นที่ 12 ตารางเมตร โดยกำหนดให้ชายใช้เวลาแข่งขัน 50-70 วินาที การเล่นประกอบด้วยท่าการเคลื่อนไหว มือเปล่า ท่าติดนิ่ง ท่าแสดงความแข็งแรง ท่าความอ่อนตัว ท่าดีดสปริง ท่าทรงตัว และท่ายืดหยุ่น โดยการนำท่าต่างๆ เหล่านี้มาประกอบเข้าเป็นชุดต่อเนื่องกัน
2. ม้าหูหรือม้าหมุน
3. ห่วง
4. ม้ากระโดดหรือม้ายาว
5. บาร์คู่
6. บาร์เดี่ยว
ประเภทหญิง
1. ม้ากระโดด
2. บาร์ต่างระดับ
3. คานทรงตัว
4. ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ พื้นที่การแข่งขันมีขนาด 12 x 12 เมตร และมีดนตรีประกอบการแสดง แต่ไม่มีเนื้อร้อง
ประวัติอุปกรณ์ยิมนาสติก
บาร์เดี่ยวหรือราวเดี่ยว
Friedrich Jahn เป็นผู้ประดิษฐ์ราวเดี่ยวขึ้นในประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ. 2355 ณ บริเวณสนามเด็กเล่นที่เขาสร้างขึ้น ซึ่งเขาได้แนวความคิดว่า เมื่อธรรมชาติของเด็กมักชอบห้อยโหนปีนป่ายกิ่งไม้ที่ยื่นทอดกิ่งออกไปรอบๆ ต้น เขาจึงคิดสร้างสิ่งที่สำคล้ายกคลึงขึ้นมาทดแทน แต่มีความแข็งแรง และปลอดภัยกว่าง จึงหวังว่าเด็กๆ คงจะพากันใช้ห้อยโหนไกวตัว และคลุกคลีอยู่กับราวที่สร้างขึ้นนี้เช่นเดียวกันกับที่เด็กให้ความสนใจกิ่งไม้ ความหวังของเขาได้ผลเกินคาด เพราะหลังจากที่เขาสร้างมันขึ้น และแนะนำวิธีเล่นได้ไม่นานนัก เด็กๆ ทั้งหลายตลอดจนวัยรุ่นต่างพากันห้อยโหน และออกกำลังกายกันเป็นประจำ จนปัจจุบันได้กลายเป็นยิมนาสติกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
ราวเดี่ยวทำด้วยเหล็กกลมและเหนียว รองรับด้วยเสาสองต้นตั้งฉากกับพื้น ห่างกัน 8 ฟุต ถึง 8 ฟุต 5 นิ้ว โดยปกติแล้วราวส่วนมากที่สร้างมักมีการปรับระดับให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่ราวที่ใช้เพื่อการแข่งขันความสูงจะต้องให้ได้ 8 ฟุต ถึง 8 ฟุต 3 นิ้ว นับจากเหนือเบาะ ก้านราวมีความใหญ่วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง คือ 1 1/4 นิ้ว
บาร์คู่หรือราวคู่
ผู้คิดประดิษฐ์ราวคู่ขึ้นเป็นคนแรก คือ Friedrich Jahn เมื่อต้นปี พ.ศ. 2343 เขาตั้งปณิธานไว้ว่า อุปกรณ์ประเภทนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแอได้กลับคืนสู่สภาพที่แข็งแรงขึ้น และบางทีจะช่วยให้ผู้ที่อยู่ในโซ่ตรวจแห่งความลน้เอ่อล้ำหน้าของอารยะ อันเป็นเหตุแห่งการนำมาซึ่งความอ่อนเพลียนนั้นได้รับการปลดปล่อยไปได้บ้าง ถ้าเข้ามาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์นี้
ราวคู่ประกอบด้วยไม้ 2 อันขนานกันเหมือนทางรถไฟ ลักษณะของไม้ราวตามหน้าตัดขวางเป็นรูปกลมรีเหนือรูปไข่ตั้งส่วนป่องขึ้นข้างบน วางพาดอยู่บนยอดเสาทั้งสี่ซึ่งติดตรึงอย่างแน่นหนาไว้บนฐานราวที่สมบูรณ์ สามารถจะปรับระดับให้สูงหรือต่ำ กว้างหรือแคบได้ตามความต้องการของนักกีฬาแต่ละคน ราวคู่มาตรฐานจะยาว 11 1/2 ฟุต เสาที่รับราวห่างกัน 8 1/2 ฟุต ดังนั้น จึงเหลือปลายยื่นพ้นเสาออกไปด้านละ 1 1/2 ฟุต ความสูงราวปรับระดับได้ช่วงละ 2 นิ้ว จากระดับต่ำสุด 3 ฟุต 9 นิ้ว ขึ้นไปจนถึง 5 ฟุต 7 นิ้ว ราวบางชุดสามารถปรับให้สูงกว่านี้ได้ แต่ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องสูงขึ้นไปกว่าที่กล่าวแล้ว สำหรับการแข่งขันระดับของราวควรสูงระหว่าง 5 ฟุต 3 นิ้ว ถึง 5 ฟุต 7 นิ้ว แต่สำหรับการเรียนการสอน ระดับของราวอาจให้ต่ำลงถึง 3 ฟุต 9 นิ้ว ส่วนความกว้างควรอยู่ระหว่าง 16 1/4 นิ้ว ถึง 19 นิ้ว โดยปกติเด็กตั้งแต่ระดับวัยรุ่นขึ้นไปจะใช้ราวที่ไม่แคบกว่า 16 1/4 นิ้ว แต่ถ้าต้องการราวที่แคบกว่านี้ควรทำขึ้นเองแต่ควรเลือกราวชนิดมาตรฐาน เพราะจะได้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า โดยเฉพาะเพื่อเด็กโตและผู้ใหญ่
คุณสมบัติของราวคือ เมื่อน้ำหนักของคนขนาดธรรมดาคนหนึ่งขึ้นไปทับบนราวแล้ว ราวจะมีความอ่อนลงมาราว 2 นิ้ว และจะกลับเข้าสภาพเดิมเมื่อไร้น้ำหนัก จึงไม่ควรสร้างราวด้วยวัสดุที่ไร้สปริง
ห่วง
ผู้คิดประดิษฐ์ห่วงเป็นคนแรกคือ Fronciaje Omlece ชาวสเปน เมื่อ ปี พ.ศ. 2343 แต่เดิมการเล่นห่วงมี 2 ประเภทคือ ประเภทห่วงไกว และห่วงนิ่ง สำหรับห่วงไกวนั้นมีอันตรายมากว่า ดังนั้น ผู้เล่นจะต้องมีความกล้าเสี่ยงอยู่บ้าง เช่น การโล้ชิงช้า และการขว้างตัวในโรงละครสัตว์
การแข่งขันได้รับการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา ห่วงไกวจึงถูกคัดออกจากการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันสากลคงมีแต่เฉพาะประเภทห่วงนิ่งเท่านั้น นกักีฬาทุกประเภทจึงหันมาสนใจประเภทห่วงนิ่งตามสากลนิยม
ห่วงเป็นอุปกรณ์ประเภทที่มีความคงทนมาก ซื้อเพียงครั้งเดียวก็ใช้ได้ตลอดไป ดังนั้นจึงควรซื้อของที่เป็นมาตรฐาน ห่วงจะแวนห้อยโดยปลายสายสูงจากพื้น 18 ฟุต และห่วงทั้งสองห่างกัน 19 5/8 นิ้ว ส่วนล่างสุดของตัวห่วงสูงจากพื้น 8 ฟุต 2 1/2 นิ้ว เข็มขัดซึ่งคล้องห่วงติดกับสายสลิงตอนบนยาว 27 1/2 นิ้ว (ความจริงเข็มขัด ดังกล่าวยาวเป็น 2 เท่า, เพราะเข็มขัดต้องสอดเข้าในห่วงแล้วทบขึ้นมาจรดปลายอีกด้านหนึ่ง ส่วนที่ต่อจากเข็มขัดขึ้นไป จะเป็นลวดสลิงซึ่งโยงต่อขึ้นไปยึดกับเพดาน) ตัวห่วงทำด้วยไม้อัดเนื้อเหนียว แกนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว วงกลมในซึ่งเป็นที่ว่าง จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 นิ้ว ห่วงที่ใช้เพื่อการฝึกหัด ถ้ามีหลายชุดควรแขวนให้มีระดับความสูงต่างๆ กัน เพื่อความสูงของผู้ฝึกหัดที่แตกต่างกัน
ม้ากระโดดหรือม้ายาว
เครื่องยิมนาสติกประเภทนี้นับว่ามีความเก่าแก่มาก ผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นเป็นคนแรกคือ Friedrich Jahn ระหว่างปี พ.ศ. 2343
ยิมนาสติกประเภทอื่นๆ เมื่อผู้เรียนมีความชำนาญขึ้น ก็จะฝึกหัดท่าใหม่ซึ่งมีความยากกว่า และไม่เหมือนท่าก่อนเลย แต่สำหรับท่าของยิมนาสติกประเภทนี้ ผู้เรียนในชั้นสูงก็จะฝึกหัดท่าซึ่งได้เรียนมาแล้วในระดับเบื้องต้นและระดับปานกลาง แทนที่จะฝึกท่ายากซึ่งเป็นท่าใหม่ทั้งท่า แต่ระดับความยากของท่าจะเพิ่มในแถบปรับระดับของม้าให้สูงขึ้น หรือเปลี่ยนชนิดของกระดานสปริงที่ใช้กระโดด หรือโดยวิธีเปลี่ยนเป็นการแสดงตามความยาวแทนการแสดงทางขวาง หรือด้วยวิธีจัดระเบียบของท่านให้สวยงามขึ้น การทำท่าทุกครั้งต้องประกอบด้วยการเริ่มวิ่งเข้าเหยียบกระดานสปริงเพื่อส่งตัวให้พุ่งขึ้นไปเหนือหลังม้า ขณะที่ลอยเหนือม้าจะต้องใช้มือเท้าส่วนใดส่วนหนึ่งของหลังม้า แล้วจึงผลักให้ตัวลอยข้ามไปยืนบนพื้นทางปลายม้าอีกด้านหนึ่ง
ม้าหูหรือม้าหมุน
เครื่องยิมนาสติกประเภทนี้ Friedrich Jahn เป็นผู้คิดประดิษฐ์ เมื่อปี พ.ศ. 2343 มีความคล้ายคลึงกับม้ากระโดดหรือม้ายาว แต่มีหู 2 หู ติดขวางอยู่บนหลังม้า นับเป็นประเภทที่ยากมากที่สุดในบรรดายิมนาสติกทุกๆ ประเภท และเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบกับยิมนาสติกประเภทอื่น เพราะมีความแตกต่างกันมาก โดยธรรมชาติแล้วนักกีฬาทั้งหลายต่างทราบดีว่าการฝึกหัดเพื่อให้ได้รับความชำนาญนั้นต้องใช้เวลานานกว่าประเภทอื่นทั้งหมด ดังนั้น ผู้ฝึกหัดใหม่ๆ มักจะเบื่อหน่ายและไม่ชอบยิมนาสติกประเภทนี้ แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายและทดสอบได้ว่านักกีฬาจะมีความอุตสาหะพยายามเพียงใด
ลักษณะของท่าฝึกหัดจะมีความโน้มเอียงไปในแบบฝึกการบิดเอี้ยวของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อมากว่าการฝึกกล้ามเนื้อใหญ่เพื่อพลังเพราะลักษณะของท่าแสดงไม่ต้องการความแข็งแรง เด็กชายที่มีร่างผอมสูงซึ่งประสบความล้มเหลวในการฝึกหัดยิมนาสติกประเภทอื่นๆ มาแล้ว ก็สามารถประสบความสำเร็จในประเภทม้าหูได้อย่างไม่มีปัญหา เนื่องจากไม่ต้องใช้กำลังออกแรงมาก และไม่ต้องใช้แรงกดที่มือเหมือนราวเดี่ยว จึงทำให้อยู่บนม้าหูได้นานกว่า คุณประโยชน์ที่เห็นชัดคือ ม้าหูสร้างความแข็งแรงให้แก่ข้อมือและหน้าแขน ทั้งพัฒนาด้านความมีอารมณ์เย็น และความรอบคอบ ดังนั้น ผู้เรียนยิมนาสติกประเภทนี้ก็เท่ากับการเรียนวิชาการปฏิบัติกิจกรรมด้านอื่นตลอดชีวิตของเขาด้วย
ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์
ยิมนาสติกประเภทนี้เมื่ออดีตเรียกชื่อกันต่างๆ เช่น ฟรี-แคลิสเธนิกส์ (Free calisthenics) ครั้นเมื่อ 12-13 ปีที่ผ่านมา ชื่อได้เปลี่ยนมาเป็นฟรี เอ็กเซอร์ไซส์ (Free exercise) ในบางประเทศชื่ออันเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งคือ ฟรี สแตนดิงเอ็กเซอร์ไซด์ (Free Standing Exercise) หรือเรียกย่อๆ ว่า ฟรี สแตนดิง (Free standing) ครั้นในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นปีที่มีการแข่งขันโอลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ชื่อได้เปลี่ยนเป็นฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ และใช้เรียกกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
ประวัติยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี
กีฬายิมนาสติกลีลาประกอบดนตรีได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2443) โดยเริ่มจากการใช้ยิมนาสติกเพื่อการศึกษา ผู้ที่คิดค้นแท้จริงเป็นนักการศึกษาชาวสวิตเซอร์แลนด์ชื่อ Jacques Dalcrole ซึ่งเป็นผู้สร้างวิทยาลัยครูเกี่ยวกับกิจกรรมเข้าจังหวะ 2 แห่งคือ วิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์ และวิทยาลัยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน วิทยาลัยทั้งสองแห่งเป็นแหล่งฝึกฝนยิมนาสติกประกอบจังหวะขึ้นเป็นครั้งแรก
จากนั้นได้มีการคิดค้นเพิ่มเติมในเยอรมันโดย Rodolph Boda ในปี พ.ศ. 2424-2513 ซึ่งศึกษามาจาก Dalcroze Eurythmic College และต่อมา Heinrich Modau ในปี พ.ศ. 2433-2517 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Rodolph Boda ได้จัดตั้งโรงเรียนของตนเองเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเต้นรำและยิมนาสติกที่อาศัยดนตรีประกอบ Modau ได้พัฒนาทักษะยิมนาสติประกอบจังหวะโดยใช้เครื่องดนตรี และเขาได้ริเริ่มการฝึกประกอบลูกบอล ห่วงฮูลาฮุบ และโยนไม้ เขาได้คิดท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นของใหม่ และมีลักษณะตื่นเต้นผสมกับความสวยงามขึ้นมา
ยิมนาสติกประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทยิมนาสติกสากล มีการแข่งขันเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น โดยจะแข่งบนพื้นที่ขนาด 12 x 12 เมตร ใช้เวลาในการแข่งขันคนละ 1-1.30 นาที อุปกรณ์ที่ใช้แข่งขันมี 5 ชนิด โดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากลได้กำหนดไว้ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2527 ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
1. บอล ทำด้วยยางหรือพลาสติก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-20 เซนติเมตรน้ำหนัก 400 กรัม
2. ริบบิ้น ทำจากฟ้าแพร ความกว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-6 เมตร น้ำหนัก 35 กรัม ( 1 เมตร ใช้ริบบิ้น 2 ชิ้นติดกัน) โดยไม้ทำจากพลาสติก ไม้ไผ่ หรือเทอร์เบอร์ใส ยาว 50-60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง (อย่างมาก) 1 เซนติเมตรตรงที่จับอาจพันด้วยกระดาษกันลื่น ส่วนข้อต่อระหว่างริบบิ้นและไม้จะทำด้วยวัสดุที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ อาจทำด้วยเชือก เส้นลวด ไนล่อน ด้าย และขอเบ็ด ซึ่งมีตะขอเกี่ยวกับโซ่อีกส่วนหนึ่ง ความยาว 7 เซนติเมตร
3. ห่วง ทำด้วยไม้ หรือพลาสติก ขอบอาจจะกลมหรือแบนก็ได้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 80-90 เซนติเมตร น้ำหนัก 300 กรัม
4. คลับ หรือ คทา ทำจากไม้หรือพลาสติก น้ำหนัก (อันละ) 150 กรัม ความยาว 40-50 เซนติเมตร
5. เชือก ทำจากป่านหรือพลาสติก วัดตามสัดส่วนของร่างกายผู้เล่น คือ ใช้เท้าทั้งสองเหยียบตรงกลางของเชือก โดยจับปลายเชือกทั้งสองให้อยู่ตรงรักแร้













































































































คลิปวีดีโอ





































































































































ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกกีฬาโดย น.ส.พัชรี เสือพงษ์ใหญ่

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกกีฬาโดย น.ส.พัชรี เสือพงษ์ใหญ่